วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

เที่ยวเมืองลียง(Lyon)

Lyon



           การท่องเที่ยวเมืองลียง (Lyon) อีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศฝรั่งเศส โดยเมืองลียงนั้นเป็นเมืองหลวงของจังหวัดโรน (Rhone) และยังเป็นเมืองหลวง ของแคว้นโรนาลป์ หรือแคว้นโรห์น-อัลป์ (Rhone-Alpe) ซึ่งเป็นแคว้นที่ตั้งอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส โดย เมืองลียง เป็นเมืองที่ใหญ่ เป็นลำดับที่สองของประเทศฝรั่งเศส รองลงมาจากกรุงปารีส โดยตัวเมืองนั้นตั้งอยู่ระหว่างปารีสกับมาร์แซย์ โดยอยู่ห่างจากปารีส 470 กิโลเมตร, ห่างจากมาร์แซย์ 320 กิโลเมตร 

นอกจากนี้แล้วเมืองลียงยังเป็นที่รู้จักกันในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของอาคารประวัติศาสตร์ที่สวยงามจากทุกยุคสมัย เมือลียงถูกก่อ ตั้งขึ้นโดยพวกโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 1 จนกระทั่งองค์การยูเนสโก (Unesco) ได้รับการบรรจุเมืองลียงไว้ในรายชื่อของมรดกโลกในปี ค.ศ.1998 





     

       เมืองลียงเป็นที่รู้จักกันมากในสมัยอดีต โดยเฉพาะเชื่อเสียงในเรื่องของอุตสาหกรรมการผลิตและการทอผ้าของผ้าไหม แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาชื่อเสียงจนมาเป็น เมืองหลวงของ อาหาร ในฝรั่งเศส รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ เนื่องจากเมืองลียงนั้นเป็นบ้านเกิดของพี่น้องลูแมร์ (ออกุสต์ ลูแมร์ และหลุยส์ ลูแมร์) ที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในฝรั่งเศสอีกด้วย

    

สำหรับการท่องเที่ยวเมืองลียงนั้น สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่อยากแนะนำให้คุณไปเยือน คือ เพลซ เดอ เตอรัว (Place des Terreaux) จตุรัสขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในใจกลาง เมืองลียง โดยจัตุรัสนั้นได้รับการออกแบบใหม่อย่างสมบูรณ์ในปี 1990 โดยศิลปิน Daniel Buren 








      สถานที่ต่อไปก็คือ โฮเตล เดอ ลิยง (Hotel de Ville) หรือ อาคารศาลากลางเมืองลียง (City Hall) โดยอาคารถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 ปัจจุบันอาคาร แห่งนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในอาคารเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดของเมืองลียงอีกด้วย 

 (Hotel de Ville)



          และไม่ไกลจากอาคารศาลากลางจะเป็นที่ตั้งของ โรงละครโอเปร่า (Opera house)อีกหนึ่งอาคารประวัติศาสตร์ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลากลาง โดยอาคารถูกสร้างขึ้นใน ช่วงปี ค.ศ. 1826 ถูกสร้างขึ้นโดย Chenavard และ Pollet และต่อมาถูกออกแบบใหม่อย่างสมบูรณ์โดย Jean Nouvel โดยอาคารถูกเปิดขึ้นมาใหม่ในปี 1993 



 (Opera house)




ต่อมาขอแนะนำให้คุณไปเยือน โบสถ์แซง นิเช่ (St Nizier church) อีกหนึ่งคริสตจักรที่ถูกสร้างขึ้นในสไตล์โกธิค (Gothic style) เป็นโบสถ์ที่มีความโดดเด่นทางด้าน สถาปัตยกรรม ปัจจุบันเป้นหนึ่งในอาคารที่ได้รับการยกย่องให้เป็นอนุสาวรีย์ทางประวัติ ศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเมืองลียง 

 (St Nizier church)








หลังจากนั้นขอแนะนำให้คุณไปเยือน มหาวิหารเซนต์จอห์น (Cathedral of St. John) หรือ วิหารลียง (Lyon Cathedral) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก (Roman Catholic) โดยวิหารถูกสร้างขึ้นในศตวรรษที่12 บนซากปรักหักพังของโบสถ์เก่าจากศตวรรษที่ 6 โดยสิ่งที่โดดเด่นที่สุดของวิหารก้คงจะเป็นนาฬิกาดาราศาสตร์จากศตวรรษที่ 14 นั่นเอง 

 (Cathedral of St. John)





จากนั้นขอแนะนำให้คุณไปเยือน มหาวิหารนอเทรอ-ดาม เดอ โฟวิเออ (Basilica of Notre-Dame de Fourviere) มหาวิหารเก่าแก่ที่ถูกสร้างขึ้นบนเขาในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ.1872-1884 ตัวอาคารถูกสร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมผสมผสาน 2 สไตล์คือ แบบโรมันและไบเซนไทน์

     นอกจากนี้แล้ว มหาวิหารนอเทรอ-ดาม เดอ โฟวิเออยังถูกรวมให้เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดของลียง และได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี ค.ศ. 1998 โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมมากกว่า 1.5 ล้านคน 


 (Basilica of Notre-Dame de Fourviere)




  


 และสถานที่สุดท้ายขอแนะนำให้คุณไปชม โรงละครโบราณโฟวิเออ (Ancient Theatre of Fourviere) โรงละครโรมันโบราณmujถูกสร้างขึ้นถัดจากเนินเขา โดยโรงละครมีที่นั่ง สำหรับผู้ชมถึง 10,000 คน









     ปัจจุบันโรงละครเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก รวมไปถึงสถานที่ทางวัฒนธรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีอีกด้วย






วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลามาร์แซแยซ

ลามาร์แซแยซ


         ลามาร์แซแยซ เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์ เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย

สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Veillons au Salut de l'Empire และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Le Retour des Princes Français à Paris หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422

 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เปอโยต์

เปอโยต์  

 


     
       เปอโยต์ ( Peugeot) เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สัญลักษณ์ของเปอร์โยต์เป็นรูปสิงโตยืนสองขา ตระกูลเปอโยต์ใช้ตรานี้เป็นเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ปี 1858 ที่มาของสัญลักษณ์นี้ คือตราประจำเมืองเบลฟอร์ต (BELFORT) ซึ่งเป็นเมืองที่โรงงานแห่งหนึ่งของเปอโยต์ตั้งอยู่ และกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญของฝรั่งเศส

เปอโยต์ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1810 โดย ฌอง เปอกีโนต์ เปอโยต์ เริ่มจากการเป็นผู้ผลิตเครื่องบดเมล็ดกาแฟ และเครื่องสูบน้ำ ต่อมาได้เริ่มผลิตรถจักรยานทรงสูงแบบเพนนี-ฟาร์ธิง บริษัทเริ่มผลิตรถยนต์ในปี ค.ศ. 1882 และรถจักรยานยนต์ในปี ค.ศ. 1889
ปัจจุบัน เปอโยต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่งในจำนวนสองรายของกลุ่มธุรกิจ เปอโยต์ กรุพ (PEUGEOT S.A.) คู่กับ ออโทโมบิล ซีตรอง ผู้ผลิตรถซีตรอง ในรอบปี 1990 เปอโยต์ผลิตรถยนต์นานาชนิดออกสู่ตลาดทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านคัน รถที่ผลิตมากที่สุดคือ เปอโยต์ 205 รองลงไปคือ เปอโยต์ 405 และเปอโยต์ 309 โดยส่วนรวม กลุ่ม เปอโยต์/ซีตรองเป็นผู้ผลิตรถยนต์นั่งรายใหญ่เป็นอันดับสามของยุโรป รองจากกลุ่มโฟล์คสวาเกน เอาดี เซอาท ของเยอรมนี และกลุ่มเฟียตลันชิดา อัลฟา โรเมโอ ของอิตาลี ในรอบปี 1990 กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ขายรถยนต์นั่งในยุโรปได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.7 ล้านคัน




  




















                      







































วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

Yves Saint Laurent


Yves Saint Laurent


         
          เมื่อกล่าวถึงอีฟส์ แซ็งต์ ลอร็องต์ เรามักจะนึกถึงชุด Safari ชุดซีทรู สูทจับสม็อคทั้งตัว ชุดแจ็กเก็ตหนังสีดํา และผลิตภัณฑ์สวยหรูภายใต้สัญลักษณ์ YSL ของ เขา ที่มีตั้งแต่เสื้อผ้า น้ำหอม ปากกา ผ้าห่ม ไปจนถึงบุหรี่ แต่อีฟส์ แซ็งต์ ลอร็องต์เป็นมากกว่านั้น นอกเหนือไปจากความโดดเด่นในการเป็นนักออกแบบมืออาชีพ เขายังเป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อวงการแฟชั่นของฝรั่งเศสและของโลกอย่างมากใน ฐานะนักปฏิวัติแห่งวงการแฟชั่นที่พลิกรูปแบบแฟชั่นในแบบดั้งเดิมให้มีสีสัน และรูปแบบดังที่ปรากฏให้เห็นกันในปัจจุบัน ผลงานของเขานั้นไม่ได้มีอิทธิพลจํากัดเฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น แต่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกายทั่วโลก

ผลงานในการปฎิวัติวงการแฟชั่นของเขา ได้แก่

การ พยายามผสมผสานวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวบ้านเข้ากับวัฒนธรรมการแต่งกายของชนชั้นสูงแบบโอต์ กูตูร์ ความคิดแหวกแนวดังกล่าวนี้เป็นเหตุให้เขาถูกให้ออกจากห้องเสื้อ โอต์ กูตูร์ ของ Christian Dior ในปี ค.ศ. 1960

เป็นผู้ออกแบบเสื้อคอเต่า (Turtleneck) และเสื้อแจ็กเก็ตสําหรับขี่รถจักรยานยนต์ และ Bubble Skirts

เป็นผู้นำในการออกแบบชุดทักซิโด และชุดกางเกงทำงานสําหรับผู้หญิงซึ่งเป็นภาพที่ยังไม่เคยมี
ปรากฏในสมัยนั้น ถึงขนาดที่ในปี ค.ศ. 1968 เมื่อแนน เคมป์เนอร์ (Nan Kempner) สาวสังคมอเมริกันเดินถูกห้ามเข้าภัตตาคารเริ่ดหรูในนิวยอร์คเพราะสวมกางเกง YSL!

ในปี ค.ศ. 1967 แซ็งต์ ลอร็องต์ ช็อควงการบันเทิงด้วยการออกแบบคอสตูมที่ดูคล้ายกับชุดทหารให้กับแคธเธอรีน เดอนูฟ ในภาพยนตร์เรื่อง Bell de Jour ชุดของเขาถูกมองว่าเป็นสิ่งแปลกประหลาดและผิดยุคมากในสมัยนั้นที่ผู้หญิงจะลุกขึ้นมาแต่งตัวในรูปแบบเดียวกับผู้ชาย

การออกแบบชุด See Through ของเขาในปี ค.ศ. 1968 ถือเป็นปรากฏการณ์ที่สําคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์แฟชั่น

แซ็งต์ ลอร็องต์เป็นทั้งบิดาแห่งเมโทรเซ็กซวลและตัวป่วนวงการแฟชั่นแห่งยุคสมัย ในการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรี แซ็งต์ ลอร็องต์พยายาม ทําให้สตรีมีความเป็นบุรุษ แต่ในการออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษ แซ็งต์ ลอร็องต์ กลับพยายามทําให้บุรุษมีความเป็นสตรี

นำผ้ากํามะหยี่มาใช้ในการตัดชุดผู้ชาย ใช้ผ้าไหมหลากสีเป็นผ้าพันคอสำหรับผู้ชาย กระบวนการที่กลับกันในการออกแบบของเขาถือเป็นต้นแบบของการออกแบบเครื่องแต่ง กายที่ไม่จําแนกเพศ ( Uni-sex Dress )

นอกจากนี้เขายังทําลายการเหยียดสีผิวในธุรกิจแฟชั่น โดยการริเริ่มให้นางแบบผิวดําเดินแฟชั่นโชว์ ทำให้นางแบบผิวดำและนางแบบผิวสีต่างๆ ได้มีโอกาสแจ้งเกิดบนเวทีแฟชั่นระดับโลก จากเดิมที่จำกัดเฉพาะคนขาวเท่านั้น   

ในปี ค.ศ.1996 เขาได้ริเริ่มการจัดแฟชั่นโชว์เสื้อผ้าโอต์ กูตูร์ที่มีการถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ต
ผลงานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าอีฟส์ แซ็งต์ ลอร็องต์ เป็นนักออกแบบเครื่องแต่งกายผู้มาก่อนกาล โดยยึดแนวความคิดเสรีนิยมในการออกแบบ ซึ่งเป็นแนวคิดที่จัดว่าล้ำกว่าสมัยมากในยุคของเขา ผลงานของแซ็งต์ ลอร็องต์จึงเป็นงานที่ได้รับทั้งกระแสความชื่นชมและต่อต้านไปในขณะเดียวกัน แต่ในปัจจุบัน กาลเวลาได้พิสูจน์ให้เราทุกคนเห็นแล้วว่าเขาเป็นนักออกแบบตัวจริง ที่มีทั้งศิลปะในการออกแบบและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลอย่างที่นักบริหารควรมี
         ทางด้านชีวิตส่วนตัวนั้น อีฟส์ แซ็งต์ ลอร็องต์เป็นชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมือง Oran ประเทศอัลจีเรีย ในปี ค.ศ. 1936 เขามาจากครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างดี พ่อของเขาเป็นผู้บริหารเครือข่ายโรงภาพยนตร์ เขาสนใจการออกแบบเครื่องแต่งกายมาแต่เล็กๆ และพรสวรรค์ของเขาเริ่มฉายแววในการแข่งขันการออกแบบเครื่องแต่งกาย International Wool Secretariat contest ในปีค.ศ. 1954 ผลงานนี้เป็นใบเบิกทางให้เขาได้เข้าไปทํางานในสํานักออกแบบเสื้อผ้าของของคริสติออง ดิออร์ (Christian Dior Couture House) ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่อายุเพียง 17 ปี จากนั้นก็กลายเป็นลูกศิษย์ที่โดดเด่นที่สุดของดิออร์
           หลังจากการถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันของคริสติออง ดิออร์ในปี ค.ศ. 1957 ด้วยวัยเพียง 21 ปี ลอร็องต์ซึ่งมีฝีมืออันโดดเด่น ได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายของห้องเสื้อดิออร์ แต่ชีวิตการทํางานของเขาที่ห้องเสื้อดิออร์มิได้สดใส เพราะแนวความคิดพื้นฐานในการออกแบบเครื่องแต่งกายของแซ็งต์ ลอร็องต์แตกต่างจากผู้บริหารของดิออร์โดยสิ้นเชิง เขาจึงถูกให้ออกจากงานในปี ค.ศ. 1960 หลังจากที่ได้ออกผลงานมาเพียง 6 คอลเลคชั่นเท่านั้น
จากนั้น แซ็งต์ ลอร็องต์ก็ถูกเกณฑ์ทหารเพื่อไปร่วมรบในสงครามกู้ชาติอัลจีเรีย (Algerian war of independence) ภาวะกดดันภายใต้ชีวิตทหารทำให้เขาเป็นโรคประสาทและต้องเข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาล หลังการบำบัด ปิแอร์ แบร์เจ (Pierre Berge) ผู้ที่ลอร็องต์พบในงานศพคริสติออง ดิออร์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1957 ช่วยระดมทุนและจัดการให้ แซ็งต์ ลอร็องต์ได้เปิดห้องเสื้อ ”Yves Saint Laurent Haute Couture Hous” ขึ้นในปีค.ศ. 1962 ทั้งสองกลายเป็นทั้งหุ้นส่วนชีวิตและคู่รักแห่งวงการแฟชั่น

หากโลกแห่งแฟชั่นในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตกอยู่ใต้อิทธิพลของโคโค ชาแนล และช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นของคริสโตบอลบาลองซิอากา (Cristobal Balenciaga) และคริสติออง ดิออร์ ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ต้องถือเป็นยุคของแซ็งต์ ลอร็องต์โดยแท้

แซ็งต์ ลอร็องต์ป็นผู้ที่มีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อวัฒนธรรมการแต่งกายของพลโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โอต์ กูตูในประเทศฝรั่งเศส เมื่อ Yves Saint Laurent กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในธุรกิจแฟชั่น ผลงานการออกแบบของเขาจึงเข้าสู่กระบวนการสากลานุวัตร และ YSL กลายเป็นยี่ห้อระดับโลก (Global Brand)

เมื่อเข้าสู่ยุคการปฏิวัติวัฒนธรรมในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ของชนรุ่นที่เรียกกันว่า The Beat Generation แซ็งต์ ลอร็องต์ได้ออกแบบเครื่องแต่งกายเรียกว่า Beat Look ที่เน้นความงามและความสง่าของสตรีเป็นหัวใจในการออกแบบ

           ในด้านหนึ่ง แซ็งต์ ลอร็องต์เสริมความสง่าให้สตรีด้วยเครื่องแต่งกายบุรุษ ดังเช่นด้วยท่าทางอันกระฉับกระเฉง และกลายเป็นภาพคุ้นตาในปัจจุบัน จนนักวิเคราะห์แฟชั่นถึงกับเสนอบทวิเคราะห์พัฒนาการของแฟชั่นว่า โคโค ชาแนลช่วยปลดปล่อยร่างกายสตรีให้เป็นอิสระ ในขณะที่แซ็งต์ ลอร็องต์เสริมอํานาจสตรีด้วยเครื่องแต่งกายบุรุษ กล่าวคือ เขาออกแบบเครื่องแต่งกายเพื่อเสริมความงามของผู้หญิง และเปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถโชว์ความงามของเรือนร่างได้
  
          ในด้านธุรกิจ แม้ว่าแซ็งต์ ลอร็องต์จะเริ่มต้นด้วยการจัดตั้งโอต์ กูตู เฮ้าส์ ซึ่งออกแบบและตัดเย็บเครื่องแต่งกายสําหรับไฮโซและคนดังทั้งหลาย แต่ในเวลาต่อมา เขากลับพบว่า การขยายฐานธุรกิจของโอต์ กูตู เฮ้าส์นั้น ยากและลําบากกว่าธุรกิจแฟชั่นประเภทอื่นๆมาก เนื่องจากตลาดมีขนาดจํากัด ดังนั้นในปี 2509 เขาจึงจัดตั้ง Rive Gauche เพื่อผลิตและจําหน่ายเสื้อผ้าสําเร็จรูป (Ready-to-wear Boutique) แล้วจึงขยายธุรกิจไปผลิตเครื่องสําอางค์และนํ้าหอม โดยที่นํ้าหอมยี่ห้อ Opium ออกสู่ตลาดในปี 2520 เมื่อแบรนด์ YSL ติดตลาดแซ็งต์ ลอร็องต์จึงใช้ยี่ห้อ YSL ปะไปกับสินค้าหลากหลายชนิด ทั้งแว่นตา ผ้าห่ม และบุหรี่

          ในเดือนมกราคม ปีค.ศ. 2002 ขณะที่ลอร็องต์มีอายุได้ 65 ปี เขาได้ประกาศอำลาวงการแฟชั่นอย่างเป็นทางการ และได้กล่าวขอบคุณคริสติออง ดิออร์ บาลองซิเอก้า และชาแนล สำหรับคุณานุปการที่มีต่อผลงานของเขา และได้ให้เหตุผลในการอำลาวงการแฟชั่นว่า ลอร็องต์บอกว่าเขารู้สึกแปลกแยกและเอียนเต็มทีกับวงการแฟชั่นในปัจจุบันที่ ให้ความสำคัญกับผลตอบแทนทางธุรกิจมากกว่า ศิลปะ

          งานแฟชั่นโชว์ครั้งสุดท้ายของแซ็งต์ ลอร็องต์ Haute Couture จบลงอย่างอลังการ ด้วยน้ำตาแห่งความปรีดาและเสียงเพลง “Ma Plus Belle Histoire d'Amour” โดยแคธเธอรีน เดอนูฟ ณ Centre Georges Pompidou Art Gallery นครปารีส เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2545


....ถือว่าเป็นการจบภาระกว่า 40 ปีของนักออกแบบเครื่องแต่งกายผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้...











วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

Christian Louboutin แบรนด์ชั้นนำระดับโลก

Christian Louboutin



         Christian Louboutin  เป็นดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสที่เคยออกแบบรองเท้าให้กับแบรนด์ดังต่างๆ อาทิ Chanel, Yves Saint Laurent และ Maud Frizon มาก่อน นักออกแบบรองเ้ท้าชาวฝรั่งเศส ที่มีเหล่าแฟชั่นนิสต้า และ เซเลบิตี้ ทั่วโลกขนานนานให้เขาว่า  "Sammy red-bottoms." (แซมมี่พื้นสีแดง) เนื่องจากงานรองเท้าที่พื้นถึงส้นรองเท้าของเค้านั้น จะมีสีแดง สีแดงทุกคู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกเหล่าแฟชั่นนิสต้าว่านี่แหละ คือ ซิกเนเจอร์ ของฉันเอง






หลังจากสั่งสมประสบการณ์ได้มากพอ คริสเตียน ลูบูแตง ได้ก่อตั้งร้านรองเท้าภายใต้ชื่อ Christian Louboutin ขึ้น ซึ่งต่อมาก็ได้กลายเป็นแบรนด์ดังที่รู้จักว่าเป็นรองเท้าที่ใส่สบายแม้จะมี ความสูงระดับเทพที่สูงสุดถึง 6 นิ้ว มีดีไซน์สวยที่สามารถทำให้ขาของสาวๆ ผู้สวมใส่ดูเพรียวสวยเซ็กซี่ โดยรองเท้าทุกคู่จะมาพร้อมกับสัญลักษณ์พื้นใต้รองเท้าสีแดงมันวาว ซึ่งคริสเตียน ลูบูแตง มีคอนเซ็ปที่ชัดเจนว่า เค้าต้องการทำรองเท้าให้เป็นเสมือนเครื่องประดับเก๋ๆ ของผู้หญิงสักชิ้นหนึ่ง






ซึ่งบอกได้คำเดียวว่าเค้าทำสำเร็จ พิสูจน์ได้จากเหล่าเซเลปบริตี้สาวระดับโลกในทุกวงการต่างก็เลือกที่จะสวม รองเท้าของคริสเตียน ลูบูแตงออกงานเพื่ออวดเรียวขากันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ซ่ารา เจสิการ์ ปาร์กเกอร์ ซึ่งถือได้ว่าสาวกตัวยงของรองเท้าแบรนด์นี้ แม้แต่ในภาพยนต์ Sex and The City 2 แครี่ก็ยังใส่รองเท้า Christian Louboutin รุ่น Gino T-strap pumps ของปี 2009 มาวิ่งเล่นอวดโฉมให้แฟนๆ ทั่วทั้งโลกได้เห็น มารายด์ แครี่ก็เลือกที่จะใส่รองเท้า คริสเตียน ลูบูแตง แพลตฟอร์มสีดำสุดคลาสสิคในงาน Release Party ของ อัลบั้ม E=MC2 ของตัวเอง หรือแม้แต่แฟชั่นไอคอนอย่างวิคตอเรีย เบคแฮมก็เป็นแฟนตัวยงของแบรนด์คริสเตียน ลูบูแตงที่ขอสวมรองเท้าแบรนด์นี้ออกงานอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้สาวๆ ในฮอลลิวู๊ดอย่าง สกาเล็ต โจฮันสัน อีวา ลองโกเลีย หรือนิโคล คิดแมน ต่างก็เลือกที่จะสวมรองเท้าคริสเตียน ลูบูแตงในงานเปิดตัวภาพยนต์ที่ตัวเองแสดงทั้งสิ้น
















 และนี่ก็เป็นภาพตัวอย่างส่วนหนึ่งของเหล่าดารา Hollywood ค่ะ


วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

Coco Chanel

โกโก ชาเนล





        Coco Chanel หรือชื่อจริง Gabrielle Bonheur ดีไซเนอร์ แฟชั่นโลก ที่ชอบไข่มุก เป็นชีวิตจิตใจ จากแฟ้ม ประวัติดีไซเนอร์ เธอเกิดในเมือง Saumur เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส ปี 1883  แล้วตายเมื่อ 10 มกราคม 1971 อายุได้ 88 ปี เธอเกิดในครอบครัวที่ยากจน แม่เธอเสียชีวิตเมื่อเธออายุได้ 6 ขวบทิ้งเธอและพี่น้องอีก 4 คน ไว้กับพ่อ ซึ่งไม่นานพ่อของเธอก็หายตัวไป เธอถูกส่งไปอยู่ที่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้าในแคว้น Auvergne และเติบโตที่นั่น เธอหาเลี้ยงชีพด้วยการเย็บผ้า

เรื่องราวชีวิตของ Coco Chanel นั้นเหมือนกับชีวิตของ “ อีสาวบ้านนอก ” ผู้ใฝ่ฝันและทะเยอทะยาน เหมือนกับอีกหลายเรื่องราวหลากหลายผู้คนที่พวกเราเคยได้ยิน เธอเปลี่ยนชื่อเป็น Coco Chanel เมื่อเริ่มต้นอาชีพการเป็นนักร้องในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะไปมีความสัมพันธ์ในฐานะ “ เมียน้อย ” กับ นายทหารผู้ร่ำรวย Etienne Balsan ผู้ซึ่งเป็น รักแรกเป็นผู้อุ้มชูชีวิตเธอ เป็นนายทุนให้เธอย้ายมาอยู่ที่ ปารีส และ เปิดร้านขายหมวกแห่งแรก ด้วยการสนับสนุนของชายผู้นี้
 
เธอเริ่มงานด้าน Fashion ที่ Shop เล็กๆ ในกรุงปารีส และเปิดกิจการ Couture เป็นของตัวเองครั้งแรกในปี 1914 เธอเป็นผู้ปฏิวัติวงการแฟชั่น ด้วยการได้พบเห็น แฟชั่นโบราณ แบบเก่าๆของผู้หญิง ไฮโซ ใส่หมวกใบใหญ่ๆ เสื้อมีคลุ่ยวุ่นวาย มาเป็นการใส่ชุดแบบ ยูนิฟอร์มสีดำเท่ห์ๆ
   
กิจการของเธอต้องหยุดชะงั้กเนื่องจากสงคราม โลกครั้งที่ 1 และเปิดอีกครั้งในปี 1919 ซึ่งในช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 นี้ เธอกลายเป็น Designer ชื่อดังที่มีแต่คนเข้ามา ไม่เว้นแต่การร่วมงานกับ นักศิลปะชื่อดังอย่าง Picasso, Diaghiley ,Cocteau หรือ Dancer ชื่อดังอย่าง Serge Lifar ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เธอดังขึ้นอย่างเป็นทวีคูณ ด้วยชุดกลางวันที่ดูเรียบงายแต่แผงไปด้วยความหรู ด้วยสี ขาว ดำ เบจ หรือ สีแดงกับสี pastels(สีเจอขาว)
 
แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปารีสถูกยึดโดยนาซีเยอรมัน ทำให้เธอจำเป็นต้องปิดกิจการและไปทำงานรับใช้ชาติในฐานะพยาบาล แต่แล้วความสัมพันธ์ของเธอกับ Hans Gunther von Dicklage คู่รักซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซี ก็ทำให้ชื่อเสียงของเธอตกต่ำและถูกเนรเทศจากสังคมชาวปารีสอยู่เกือบ 15 ปี กว่าที่เธอจะมีโอกาสได้กลับเข้าสู่วงการแฟชั่นอีกครั้งในปีค.ศ. 1954
 
Chanel ต้องปิดกิจการอีกครั้งเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลบไปใช้ชีวิตทีประเทศสวิส เซอแลนด์ ช่วงปี 1939  8 ปีให้หลัง   หลังจากสงครามโลกเธอตัดสินกลับสู่วงการธุกิจเสื้อผ้าอีกครั้งด้วยวัย 70 ต้นๆ ในปี 1954  ผลงานของเธอในกระโปรงทรง New Look กับสายคาดเอว นำรายได้มหาศาลให้เธออีกครั้งหนึ่ง  หลังจากนั้น Jacket ไม่มีปกเสื้อบางเบาที่มีสายผูกบริเวณคอ กระโปรงสอบยาวแค่หัวเข่า รวมถึง การประดับไข่มุก และโซ่ทองในเครื่องแต่งกาย  ล้วนแล้วแต่เป็นที่นิยมอย่างสูงในสตรีไม่เว้นแต่ยุโรป
 
ช่วงปี 1922 Chanel ได้เริ่มสนใจในการผลิตน้ำหอม โดยเริ่มจาก   Chanel No. 5 เธอได้รับรางวัลมากมายและเป็นที่ไว้ใจในการดูแลเครื่องแต่งกายให้แก่สตรี ชั้นสูงหลายคน ไม่ว่าจะเป็นระดับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน หรือแม้แต่สตรีอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา   เธอจบชีวิตเมื่อวันที่ 10 มกราคม ปี 1971 ที่นครปารีส
 
Coco Chanel เธอประกาศกร้าวความเป็นอิสระแห่งเพศหญิง ท้าทาย  โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ๆ เธอกราดเกรี้ยวกับแฟชั่นที่กักขังผู้หญิงอยู่ในชุดอันรัดรึง พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า นี่หรือคือผลรางวัลสำหรับผู้หญิงยุคใหม่ ผู้หญิงที่รอดมาจากพิษภัยสงครามอย่างนั้นหรือ...

“ ฉันสร้างแฟชั่นสำหรับผู้หญิงที่มีชีวิต ที่ยังหายใจอยู่ และรู้สึกสบายเมื่อสวมใส่สำหรับผู้หญิงที่ต้องไปทำงาน โยน คอร์เซต อันแข็งราวกับกระดูกทิ้งไป ไม่มีผู้หญิงคนไหนหรอกที่จะสามารถทำงานได้ ในขณะที่ถูกกักขังอยู่ในคอร์เซตอันรัดติ้วขนาดนั้น ”

ปัจจุบันกิจการของมาดามชาแนล อยู่ภายใต้การบริหารงานของ Alain Wertheimer และ Gerard Wertheimer ซึงเป็นหลานของ Pierre Wertheimer ผู้ร่วมก่อตั้ง House of Channel โดยมี คาร์ล ลาเกอร์ฟิลด์ (Karl Lagerfield) ดีไซน์เนอร์ชาวเยอรมัน เป็นผู้ดูแลการออกแบบของผลิตภัณฑ์ชาแนลทั้งหมดในตำแหน่ง Artistic Director ซึ่งเขาก็สามารถสืบสานสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของมาดามชาแนล และนำมาผสมผสานในงานของเขาได้อย่างลงตัว
 
แม้ว่ามาดามชาแนลจะอำลาโลก นี้ไปร่วม 35 ปีแล้ว แต่สไตล์ของเธอที่เป็นตำนานมากว่า 90 ปีนั้น ยังคงเป็นอมตะไม่ผิดไปจากคำกล่าวของเธอที่ว่า “Fashion comes and goes but style remains” นี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมสินค้าชาแนลหลายรุ่นยังเป็นที่นิยมจนกลายเป็นรุ่น “timeless classic” เช่น กระเป๋าลายข้าวหลามตัดรุ่น 2.55 ซึ่งชื่อรุ่นมีที่มาจากเดือนและปีที่เปิดตัวกระเป๋ารุ่นนี้ คือเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1955 หรือแจ็กเกตผ้า tweed เดินเส้นด้วยไหมเงินหรือทอง เป็นต้น
 
เหตุผลสำคัญที่ทำให้ Coco Chanel ก้าวขึ้นมายืนเป็นแฟชั่นดีไซน์เนอร์สุดหรูระดับไฮเอนด์ของฝรั่งเศสได้ ทั้งๆที่เธอโตมาจากเมืองเล็กๆในฝรั่งเศสเท่านั้น และไม่ได้รับการศึกษาสูงมากมาย ชีวิตของเธอต้องผ่านร้อนผ่านหนาวเจอผู้คนมาเยอะ จากการเริ่มงานในวัยสาวด้วยการเป็นนักร้องในคาบาเร่ต์ และชื่อนิคเนมว่า Coco ที่เราคุ้นหูกันดีนั้น มีที่มาจากการที่เธอ ได้ขับร้องเพลง “Who’s Seen Coco in the Trocadero” ในคาบาเร่ต์  นั่นคือ  ความฝัน  เป้าหมายที่ชัดเจน และความอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ทำให้เธอเปลี่ยนชีวิตจากเด็กหญิงกำพร้าบ้านนอก สู่การเป็นเจ้าของแบรนด์ดังอย่าง Chanel ที่คนทั่วโลกรู้จัก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

สงครามนโปเลียน

สงครามนโปเลียน


        สงครามนโปเลียน  เป็นสงครามต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับจักรวรรดิฝรั่งเศสของ 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพันธมิตรต่าง ๆ ของยุโรป และฝ่ายพันมิตรต่อต้านที่เริ่มขึ้นราว ค.ศ. 1803 และไม่ได้สิ้นสุดลงจนกระทั่งปี ค.ศ. 1815 สงครามนโปเลียนเป็นสงครามที่มีสาเหตุมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสใน ปี ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนรูปแบบของกองทัพยุโรปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ โดยเฉพาะการระบบการเกณฑ์ทหารแบบใหม่ กองทหารฝรั่งเศสขยายตัวและมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้รับชัยชนะต่อประเทศต่าง ๆ ในยุโรป แต่ก็สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับความพ่ายแพ้อย่างยับเยินในการรุกรานรัสเซียใน ค.ศ. 1812 ในที่สุดจักรวรรดินโปเลียนก็มาพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่เป็นผลให้มีการรื้อฟื้นราชวงศ์บูร์บงขึ้นครองฝรั่งเศสอีกครั้ง ผลของสงครามนโปเลียนทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ถูกยุบ และทำให้อำนาจของจักรวรรดิสเปนในการควบคุมอาณานิคมอ่อนแอลง ที่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการปฏิวัติขึ้นในลาตินอเมริกา นอกจากนั้นสงครามก็ทำให้จักรวรรดิบริติช กลายมาเป็นจักรวรรดิมหาอำนาจต่อมาอีกหนึ่งร้อยปี

       ความเห็นที่ยังไม่ตกลงกันได้คือความเห็นที่เกี่ยวกับว่าเมื่อใดที่สงครามการปฏิวัติฝรั่งเศสสิ้นสุดลง และเมื่อใดที่สงครามนโปเลียนเริ่มขึ้น วันเริ่มต้นอาจจะเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1799 ซึ่งเป็นวันที่นโปเลียนยึดอำนาจในฝรั่งเศสด้วยการรัฐประหารวันที่ 18 บรูแมร์ (ในปีที่ 7 ตามปฏิทินสาธารณรัฐฝรั่งเศสในยุคนั้น) หรือวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1803 เมื่อมีการประกาศสงครามระหว่างบริเตนและฝรั่งเศสที่ทำให้ช่วงเวลาของความ สันติในยุโรประหว่าง ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1814 ต้องมาสิ้นสุดลง หรือเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804 เมื่อนโปเลียนสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ

       สงครามนโปเลียนยุติลงหลังจากที่นโปเลียนได้รับความพ่ายแพ้ในยุทธการที่วอเตอร์ลู เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 และการลงนามในสนธิสัญญาปารีสครั้งที่สองในปีเดียวกัน